วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

10 เทคนิคช่วยให้ลูกไม่ต้องเรียนพิเศษ

10 เทคนิคช่วยให้ลูกไม่ต้องเรียนพิเศษ


1. ดูว่าลูกคุณจำเป็นต้องเรียนพิเศษหรือไม่




มี 2 เหตุผลหลัก ๆ ที่เด็กถึงต้องเรียนพิเศษ เหตุผลแรกเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “พื้นฐานของการสอนพิเศษ” นั่นคือ เมื่อนักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อนในห้องเรียน นอกจากนี้ การที่เรียนไม่ทันเพื่อนนั้นอาจทำให้เด็กสูญเสียความสนใจในวิชานั้น ๆ ด้วย ในกรณีนี้ การเรียนพิเศษนั้นมีความจำเป็นเพื่อช่วยให้เด็กกลับมาสนใจเรียนได้ ดังนั้น ควรหาครูสอนพิเศษที่มีคุณสมบัติดีพอที่จะสามารถจูงใจให้ลูกคุณเรียนและรักในวิชานั้น
ถามตัวเองว่าเรียนอย่างไรถึงจะสนุก? กุญแจสำคัญคือการสอนแบบไม่ต้องเตรียมตัวก่อนและหาอะไรก็ได้ที่คุณหาได้เป็นเครื่องมือและทำให้การเรียนนั้นสนุก คุณอาจทำกระดาษสีติดรูปเพื่อสอนคำภาษาอังกฤษให้กับลูก พิมพ์ชาร์ตตารางเพื่อให้จำง่าย ใช้การต่อจิ๊กซอเพื่อเรียนรู้การสะกดคำ หรือใช้ไม้ไอศครีมสีสันเพื่อช่วยให้เด็กเล็ก ๆ สามารถเห็นปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ได้ มีอีกหลายวิธีแล้วแต่จินตนาการของคุณเลย
นี่เป็นแทคติคที่จะทำให้ลูกของคุณสนใจในวิทยาศาสตร์แบบที่เขาไม่รู้ตัวเลยทีเดียว การลงทะเบียนทางช่อง National Geographic หรือผ่านทางนิตยสารเช่น Horrible Science ซึ่งเป็นนิตยสารที่เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงต่าง ๆ และวิธีการทดลองที่ให้เด็ก ๆ ทดลองได้เองที่บ้าน และในตอนที่ลูกของคุณเริ่มรู้จักวิทยาศาสตร์เมื่อเขาอยู่ชั้นประถมต้น เขาจะสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ในวิชาเรียนกับสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ที่บ้านได้แล้ว นอกจากนี้ การลงทะเบียนเพื่ออ่านหนังสือ Reader’s Digest และ Time ก็เป็นเรื่องที่ช่วยลูกของคุณได้ไม่น้อย
เรารู้ว่าคุณเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว และในความเป็นจริง มันก็ได้ผลจริง ๆ ด้วย นอกจากจะให้ลูกคุณได้คุ้นเคยกับการอ่านตั้งแต่เขาอายุยังน้อย ห้องสมุดยังเป็นอีกสถานที่ที่ให้ลูกคุณได้ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่เขามีความสนใจอีกด้วย เช่น ลูกสาวคุณอาจสนใจในหนังสือศิลปะและงานฝีมือ ส่วนลูกชายคุณอาจสนใจหนังสือสอนทำอาหาร เป็นต้น เพราะลูกคุณอาจมีสิ่งที่เขาสนใจแต่ยังไม่ได้บอกให้ใครรู้ ดังนั้น การที่คุณสังเกตชนิดของหนังสือที่เขาสนใจอ่านอาจทำให้คุณเห็นแววความชอบของเขาก็ได้
เช่น ทำก่อนที่ลูกจะสอบประมาณ 1 เดือน คุณแม่ท่านหนึ่งนั่งลงคุยกับลูกเพื่อทำรายการหัวข้อที่ลูกต้องสอบ จากนั้นก็บันทึกวันที่ลูกสอบลงในปฏิทินและร่างแผนตารางเวลาขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการตั้งเป้าหมายสำหรับการสอบที่กำลังจะมาถึง และจงระลึกไว้เสมอว่าต้องตั้งเป้าตามความเป็นจริงโดยดูที่เกรดของลูกและกระตุ้นให้ลูกตั้งใจทำให้ดีขึ้นในการสอบครั้งนี้อย่างน้อยให้เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเกรด
“ถ้าลูกทำข้อสอบได้ดี แม่จะซื้อของเล่นที่ลูกชอบให้” ฟังดูแล้วคุ้น ๆ หรือไม่? เราต่างก็รู้ว่าการกล่าวคำในลักษณะเช่นนี้รังแต่จะทำให้เกิดความเครียดกับเด็ก แทนที่การสัญญาว่าจะให้รางวัลกับลูกจะเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้กับลูก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวิธีนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผล เราเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กที่ไม่มีสมาธิในการสอบเพราะพ่อแม่สัญญาว่าจะพาเขาไปเที่ยวประเทศต่างประเทศมาแล้ว ผลที่ตามมาคือเด็กกังวลว่าจะทำได้ไม่ดีพอและเกิดความเครียดขึ้น

เพราะมีลูกถึง 5 คน คุณแม่ญาณีจึงไม่สามารถจ่ายค่าเรียนพิเศษให้กับลูกทั้งหมดได้ ดังนั้น คุณแม่จึงให้ลูกคนที่โตกว่าที่สามารถทำหน้าที่สอนน้องได้ช่วยสอนน้อง ๆ วิธีนี้จะทำให้พวกเขามีความรู้และรู้สึกว่าการเรียนพิเศษที่บ้านนั้นเป็นเรื่องสนุกสนาน แต่คุณต้องแน่ใจว่าลูกคนที่รับผิดชอบสอนน้องนั้นทำงานของเขาเสร็จเรียบร้อยแล้วเช่นกัน เพราะคุณเองก็ไม่อยากให้ลูกคนที่มาช่วยสอนเกิดความเครียดกับหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ถ้าคุณรู้สึกผิดที่เพื่อน ๆ หรือญาติ ๆ ของคุณส่งลูกเรียนโรงเรียนดัง ๆ หรือแพง ๆ ลูกเขาเรียนได้เกรดดีกว่า จ่ายค่าเรียนพิเศษสูงลิบลิ่ว อะไรเทือกนั้น แทนที่คุณจะรู้สึกท้อหรือเครียดไปกับสิ่งเหล่านี้ คุณควรพูดคุยกับครูที่โรงเรียนของลูกหรือใครก็ตามที่สามารถช่วยติวลูกของคุณให้เรียนเก่งขึ้นมาได้
โอกาสในการเรียนรู้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นอย่าจำกัดการเรียนรู้ของลูกคุณเฉพาะที่บ้าน ลองค้นหาสถานที่เสริมความรู้ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯหรือตามจังหวัดต่าง ๆ สถานที่ที่จะให้ลูกคุณได้เรียนรู้ไปพร้อมกับการสร้างความสนุกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเขานั่นเอง

ที่มา: http://th.theasianparent.com/10-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/

ข้อดี-ข้อเสีย ของการเรียนกวดวิชา สอนพิเศษ เรียนพิเศษ และ ติวเตอร์ ต่างๆ


ข้อดี-ข้อเสีย ของการเรียนกวดวิชา สอนพิเศษ เรียนพิเศษ และ ติวเตอร์ ต่างๆ

จากการสอบถามนักเรียนที่ไปเรียนกวดวิชาต่างก็ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการเรียนกวดวิชาว่า

ข้อดี

-       ช่วย สร้างความมั่นใจและความพร้อมในการสอบ เพราะอาจารย์ที่โรงเรียนกวดวิชามักจะรวบรวมเทคนิคต่างๆ ในการทำข้อสอบโดยยึดแนวข้อสอบของปีที่ผ่านๆ มาให้นักเรียนฝึกทำโดยจัดทำเป็นรูปเล่มสวยงาม พกพาสะดวก ทำให้นักเรียนคุ้นเคยกับโจทย์และรู้แนวข้อสอบที่จะออกในครั้งต่อไป นอกจากนี้อาจสอนตั้งแต่แนวคิดพื้นฐาน (Basic Concepts) อย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ใช่แต่สอนกลเม็ด (Tricks) เพื่อใช้สอบอย่างเดียวเพราะสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนปกติ และเพื่อศึกษาต่อได้-       ทำให้มีความรู้และประสบการณ์กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ Passage เรื่องยุง ซึ่งจะให้เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ว่าคนที่ผอมมักโดนยุงกัดมากกว่าคนอ้วนเพราะยุงจะมีคลื่นจับความร้อน ดังนั้น คนอ้วนที่มีไขมันมากเมื่อยุงเข้ามาใกล้จึงไม่ได้รับความร้อนเท่าคนผอม ซึ่งความรู้ใหม่ๆ หลายอย่าง ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้-       ช่วย ในการทบทวนวิชาที่เรียนมาตลอดทั้งปีเพราะในการเรียนกวดวิชานั้น อาจารย์จะทบทวนบทเรียนเก่าๆ ที่ผ่านมาทำให้นักเรียนได้ฟื้นความรู้และทักษะต่างๆ ในบทเรียนที่สำคัญๆ และยังได้เรียนบทเรียนใหม่ๆ ล่วงหน้าก่อนที่จะต้องเรียนที่โรงเรียนอีกด้วย-       ช่วย ให้คะแนนสอบดีขึ้น ซึ่งแน่นอนหากมาเรียนกวดวิชาจะต้องได้ทบทวนความรู้เก่าและได้รับความรู้ ใหม่ๆ นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการทำข้อสอบเพื่อเพิ่มคะแนนได้มากขึ้น ทั้งข้อสอบที่โรงเรียนและข้อสอบระดับชาติ-       อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกันเองกับนักเรียนมากกว่าครูอาจารย์ที่โรงเรียน ทำให้กล้าคุยกล้าซักถามปัญหาการเรียนได้ตลอด เพราะครูกวดวิชามักไม่มีช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap)-       วุฒิ การศึกษาของอาจารย์ที่โรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่มักจะเป็นอาจารย์ที่จบการ ศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศ และมีคะแนนระดับเกียรตินิยมทั้งระดับปริญญาตรี โท เอกรวมทั้งมีประสบการณ์การสอนมายาวนาน มีภาพลักษณ์ทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ-       บรรยากาศ ในการเรียนกวดวิชาแตกต่างจากที่โรงเรียน เพราะอาจารย์ที่สอนกวดวิชามักแทรกมุกตลก หรือ เรื่องเล่าที่เป็นประโยชน์อยู่เสมอ ทำให้นักเรียนเรียนแล้วไม่เกิดความเครียด ศ.นพ.ประเวศ  วะสี เคยกล่าวว่าบรรยากาศในห้องเรียนมัธยมไทยเต็มไปด้วยความเครียด กวดวิชาจึงมีส่วนเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้โดยตรง-          ได้รู้ความก้าวหน้าของเพื่อนต่างโรงเรียนว่ามีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว ซึ่งจะช่วยเป็นแรงกระตุ้นในการเตรียมสอบได้มากขึ้น-       ได้มีโอกาสพบปะเพื่อนใหม่ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกันจนบางครั้งคบกันจนเป็นเพื่อนสนิทกันไปเลย

ข้อเสีย

-       นัก เรียนบางคนไม่ตั้งใจที่จะเรียนกวดวิชา แต่ใช้การกวดวิชาเป็นข้ออ้างในการออกจากบ้านเพื่อไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนใน สถานที่ต่างๆ ทำให้ไม่เกิดประโยชน์ในการเรียนกวดวิชา และโรงเรียนกวดวิชาส่วนมากไม่มีระบบในการตรวจนับหรือติดตามนักเรียนทำให้นัก เรียนที่ไม่อยากเรียนสามารถโดดเรียนได้ง่าย-       นัก เรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเรียนกวดวิชา ซึ่งโรงเรียนกวดวิชาบางแห่งเก็บค่าเรียนแพงมากอย่างไม่สมเหตุผล และยังเก็บค่าหนังสือเรียนเพิ่มอีกต่างหาก ทำให้ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ไม่สามารถเรียนได้ ลักษณะเช่นนี้นักการศึกษาบางคนจึงมองว่าความรู้ที่ได้รับจากโรงเรียนกวดวิชา เป็นความรู้ที่ฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชาก็ได้และการเรียนกวดวิชาเป็นกิจกรรมของเด็กเปี่ยม โอกาส มีเงินมากกว่าจึงทำให้เก่งกว่า พฤติกรรมของโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้ จึงถูกสังคมประนามว่ามุ่งธุรกิจ ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม-       กวด วิชาสอนสูตรลัดเพียงเพื่อให้ทำข้อสอบคัดเลือกได้ แม้จะเป็นสูตรลัดผิดๆ ที่ไม่สามารถใช้ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ก็มั่วสอน อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนไม่ยอมรับสูตรลัดเหล่านั้น จึงให้นักศึกษาทำข้อสอบด้วยการให้แสดงวิธีแบบอัตนัย ทำให้สูตรลัดใช้ไม่ได้ผล-       โรงเรียนกวดวิชายังมีการปฏิรูปการเรียนรู้น้อยมากซึ่งไม่เน้นการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-Centered) ส่วนใหญ่เป็นการเรียนในห้องแคบๆ คนเรียนเป็นร้อยๆ คน บางครั้งก็ต้องดูผ่านทางทีวีวงจรปิด หรือ เรียนจากเทปบันทึกการสอนทำให้นักเรียนไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนสอนได้เลย คนสอนเป็นยิ่งกว่าดาราทีวีที่นักเรียนไม่เคยเจอตัวจริงเลย-       บาง ท่านกล่าว การว่าการกวดวิชาไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและทัศนคติของนัก เรียนได้ กวดวิชาถูกกล่าวหาว่าการที่นักเรียนมาพบเจอกัน เรียนด้วยกันแค่ไม่กี่ชั่วโมงจะไม่สามารถเกิดพลวัตรของกลุ่ม ไม่เรียนรู้ปรับตัวซึ่งกันและกัน ไม่มีเพื่อน มีแต่คนเคยเห็นหน้า-       ผู้ บริหารและครูสอนกวดวิชาส่วนใหญ่ขาดความรู้ด้านการบริหารการศึกษา และมักมุ่งหวังแต่กำไรของธุรกิจเป็นสำคัญ พอเริ่มมีชื่อเสียงดังขึ้นมาก็ขึ้นค่าเรียนอย่างรวดเร็วรับนักเรียนไม่จำกัด ให้นั่งเรียนอย่างเบียดเสียด กอบโกยกำไรมหาศาลพร้อมกับการขยายสาขาด้วยการเปิด VDO ให้เด็กดู100% ตลอดหลักสูตร กระทำผิดกฏเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการหลายข้อ ขาดความรับผิดชอบ ไร้จรรยาบันโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อการพัฒนาคน ประเทศและสังคม                 จาก ข้อดีข้อเสียข้างต้น จะพบว่านักเรียนที่เรียนกวดวิชาอาจจะได้ประโยชน์จากโรงเรียนกวดวิชามากกว่า ข้อเสีย ซึ่งในสังคมส่วนมากมักจะมองโรงเรียนกวดวิชาในแง่ลบว่าเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้น โดยอาศัยช่องว่างทางการศึกษาและไม่รับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะในบางโรงเรียนนั้นผู้บริหารก็มิได้มองการกวดวิชาในแง่ผลประโยชน์ของ ธุรกิจแต่อย่างเดียว          จาก การสำรวจโรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งพบว่า เจ้าของโรงเรียนอาจจะได้รับเงินค่าเรียนกวดวิชาเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อหักในส่วนของค่าใช้จ่ายออกแล้วก็ไม่ได้รับส่วนที่เป็นกำไรเท่าใดนัก เพราะในการตั้งโรงเรียนกวดวิชานั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งงบลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งในบางครั้งเด็กนักเรียนบางคนที่ต้องการเรียนกวดวิชาแต่ขาดทุนทรัพย์ ทางโรงเรียนก็ให้สมัครเรียนฟรี โดยมิได้คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยเฉพาะกับเด็กที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หรือบางคอร์สเรียนค่าเรียนก็ถูกมากเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ตั้งใจเรียน แต่มีความสามารถทางเศรษฐกิจน้อย ได้มีโอกาสได้เรียนกวดวิชาที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับนักเรียนที่ผู้ปกครองมี ฐานะดี ซึ่งเป็นการลดช่องว่างทางการศึกษา หรือช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในที่สุด รัฐจึงไม่ควรมองว่าปัญหาการศึกษามาจากการกวดวิชาอย่างเดียวเพราะตัวเลขจำนวน นักเรียนที่กวดวิชาเทียบไม่ได้เลยกับตัวเลขของนักเรียนในระบบทั่วประเทศ จะแก้ปัญหาการศึกษาควรแก้ที่ระบบ เช่น การพัฒนาครู ระบบฝึกอบรมบุคลากรที่มีประสิทธิผล ระบบค่าตอบแทน สวัสดิการ วิธีการพิจารณาความดีความชอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในระบบ ปัญหาการศึกษาของไทยมีมากและซับซ้อน ไม่ใช่แค่เรื่องกวดวิชา จำไว้ว่า “มีปัญหาอย่าโทษแต่กวดวิชา”






ที่มา:http://www.tutors-db.com/forums/index.php?topic=501.0

5 แนวคิดง่ายๆ ที่จะทำให้ VDO ของคุณประสบความสำเร็จ



5 แนวคิดง่ายๆ ที่จะทำให้ VDO ของคุณประสบความสำเร็จ



  • ทำให้เกิดการพูดถึง (Viral)

การสร้าง Viral ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้วีดีโอของคุณเป็นที่รู้จัก คือการทำให้เกิดการบอกต่อ การแชร์ เกิดการพูดถึง หรือกลายเป็นกระแส แต่การที่จำทำให้วีดีโอของคุณเกิด  Viral หรือการบอกต่อ แชร์ต่อนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเลย โดยหลักการง่ายๆ สำหรับการสร้าง Viral คือ คลิปของคุณต้อง เจ๋ง อำ ขำ เซ็กส์ รู้สึกดี คาวาอี้ !!! จนผู้ชมดูแล้วอดไม่ได้ที่จะแชร์ต่อ เพราะฉะนั้นถนัดแนวไหนก็ดันไปให้สุดเลย :)
  • ทำให้ผู้เข้าใช้ (User) มีส่วนร่วมในวีดีโอของคุณด้วย

วิธีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำวีดีโอของคุณมีความน่าสนใจ เพราะการที่ทำให้ผู้ชมเข้าไปมีบทบาท หรือมีส่วนร่วมกับคลิปวีดีโอได้นั้น จะทำให้ผู้ชมรู้สึกตื่นตาตื่นใจ สนุก และลุ้นว่าผลที่ตัวเองได้เลือกไปนั้นจะออกมาเป็นอย่างไร จึงทำให้เกิดการแชร์หรือบอกต่อออกไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมยังช่วยทำให้ผู้ชมเข้าใจสิ่งที่เราต้องการสื่อมากขึ้นอีกด้วย
  • ทำให้ง่ายที่สุด (Easy)

ง่ายในที่นี้คือ เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย ความง่ายถือเป็นจุดสำคัญในการรับชมคลิปวีดีโอ เนื้อหาต้องเข้าถึงได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และเกี่ยวเนื่องไปถึงความยาวของคลิปวีดีโอที่จะต้องทำให้คนเข้าใจได้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือไม่เกิน 3 นาที (ถ้ายาวเกินกว่านั้นผู้ชมส่วนใหญ่จะเลิกดูหรือลดความสนใจลง) หากมีเนื้อหาเยอะ จะต้องเดินเรื่องให้มีความน่าสนใจตลอดเวลาเพื่อตรึงผู้ชมให้ดูจนจบ  ดังนี้ความง่ายก็เป็นอีกจุดนึงที่ไม่ควรมองข้ามนะคะ
  • เน้นหรือโฟกัสแค่เรื่องเดียว ให้เนื้อหามีความชัดเจน (Clear)

ความชัดเจนเป็นอีกจุดที่ละเลยไปไม่ได้เลย เพราะหากผู้ชมไม่เข้าใจถึงสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ก็เท่ากับว่าวีดีโอของเราล้มเหลวไม่เป็นท่า วิธีการแก้ไขนั่นก็คือ เนื้อหาที่ใช้ต้องไม่โยงหลายเรื่องจนเกินไป ควรจะเน้นให้เห็นชัดเจนเฉพาะเรื่องที่สำคัญๆเท่านั้น โฟกัสให้เข้าใจได้ชัดเจน ว่าต้องการสื่อถึงอะไร เพื่ออะไร ให้ตรงประเด็นที่สุด
  • สนุก ( Funny) น่าติดตามและเป็นประโยชน์

สุดท้ายที่ขาดและลืมไม่ได้เลย คืออรรถรสในการรับชม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ผู้ชมรู้สึกสนุก โดยมีการดำเนินเรื่องแบบไม่น่าเบื่อ ทำให้ผู้ชมอยากติดตามต่อไปจนจบ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นคือ เนื้อหาหรือข้อมูลในวีดีโอนั้นน่าจะให้ประโยชน์แก่ผู้รับชมด้วย เพราะหากผู้ชมรู้สึกว่าได้รับประโยชน์จากสิ่งที่รับชมอยู่ก็มีโอกาสสูงที่จะแชร์ออกไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ที่มา: http://blog.lnw.co.th/2014/06/03/5-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89-vdo/ 

การเพิ่มเทคนิคพิเศษให้งานวีดีโอน่าสนใจยิ่งขึ้น (Effect)

การเพิ่มเทคนิคพิเศษให้งานวีดีโอน่าสนใจยิ่งขึ้น (Effect)

การเพิ่มเทคนิคพิเศษให้งานวีดีโอ น่าสนใจยิ่งขึ้น (Effect)
    งานตัดต่อวีดีโอนั้น จะต้องใส่เทคนิคพิเศษให้กับงานเพื่อเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้นด้วย Effect ในโปรแกรม VideoStudio Editor จะหมายถึง Transiton ที่ใช้เป็นตัวคั่นระหว่างคลิปวีดีดีโอ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงจากคลิปหนึ่งไปอีกคลิปหนึ่งดูราบรื่น และต่อเนื่องขึ้นนั่นเอง
    1. การเลือกใช้ Effect ครั้งแรก
    Effect  เป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญกับงานตัดต่อวีดีโอเป็นอย่างมาก ซึ่งบางโปรแกรม การใช้ Effect ค่อนข้างยากและมีให้ใช้งานน้อย แต่โปรแกรม VideoStudio Editor  จะเรียกใช้  Effect  ได้อย่างง่ายดายมีความสวยงาม  การใส่ Effect  เป็นการปรับสมดุลให้งานวีดีโอที่นำเข้ามาใช้งาน  กำหนดให้ทุกช่วงของการเปลี่ยนแปลงฉากวีดีโอมีความน่าสนใจและราบรื่น  เพื่อเน้นให้งานวีดีโอมีจุดเด่นมากยิ่งขึ้น




    2. รู้จัก Effect กันก่อน
    Effect  ของโปรแกรม VideoStudio Edit  จะจัดหมวดหมู่ไว้ชัดเจนตามความต้องการที่จำนำมาใช้งาน ซึ่ง Effect  ทั้งหมดมีด้วยกัน14 หมวดหมู่ ได้แก่  3D, Build, Clock, F/X, Film, Flahback, Mask, Peel, Push, Roll, Rotate, slide, Stretch, และ Wipe ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง


    ก่อนที่เราจะนำ Effect  เข้ามาใช้ร่วมกับวีดีโอ เราสามารถดูตัวอย่างก่อนนำ Effect  เข้ามาใช้งาน
    การทำงานของ Effect  
    สำหรับการเปลี่ยน Effect ของโปรแกรม VideoStudio Edit นั้น จะเห็นว่าตัวอักษร ในส่วนของ Preview Window  จะเปลี่ยนจากตัวอักษร ที่เป็นคลิปวีดีโอแรกไปเป็นตัวอักษร ซึ่งเป็นคลิปวีดีโอถัดไป ดังตัวอย่าง


    3. การใส่   Effect   ให้คลิปวีดีโอ
    การนำ Effect  เข้ามาใช้งานร่วมกับวีดีโอ เป็นวิธีที่ไม่อยากแต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ การเลือก Effect   ให้เหมาะสมกับงานวีดีโอนั้น เพราะ Effect    แต่ละตัวก็มีความสวยงามตกต่างกันไป วิธีการนำ Effect   เข้ามาใช้งามเริ่มจาก


    4. การสลับ Effect   และการลบคลิปวีดีโอที่มี Effect
    การใส่ Effect  เป็นวิธีง่าย เพื่อความสะดวกและรวดเร็วถ้าไม่ต้องกา Effect  ตัวที่ใส่ลงไปแล้วก็ไมต้องลบให้เสียเวลา เราก็สามารถนำ Effect  ตัวใหม่มาใส่ได้เลย คังตัวอย่างต่อไปนี้

                    1) วาง Effect  ตัวใหม่ทับตัวเก่า
       นำ Effect  ตัวใหม่ที่ต้องการโดยนำมาใช้แทน Effect  ตัวเก่า


                    2) การลบ Effect                     
                    หากไม่พอใจ Effect  ที่ใส่ไปแล้วก็สามารถลบ Effect  นั้นทิ้งไปได้เลยซึงสามารถทำได้ วิธี คือ วิธีแรกให้คลิกที่ Effect  ที่ต้องการลบแล้วกดปุ่ม <Delete> บนคีย์บอร์ด ส่วนวิธีที่ ดังภาพ


    5. การกำหนดช่วงเวลาในการแสดง Effect
    หลังจากที่ใส่ Effect  ให้กับคลิปวีดีโอได้แล้ว ต่อไปเราจะมากำหนดช่วงเวลาในการแสดงให้กับ Effect  ซึ่งปกติ Effect  จะแสดงผลที่ วินาทีเท่านั้น บางครั้งอาจน้อยไปสำหรับบางงานการกำหนดช่วงเวลาในการแสดง Effect  สามารถทำได้ วิธี
                    1) กำหนดช่วงเวลา Effect  วิธีที่ 1
                    เป็นการกำหนดการแสดงผล Effect  ในส่วน Storyboard แล้วจึงกำหนดช่วงเวลาใหม่ ในการแสดงผลให้ Effect  ใหม่

                    2) กำหนดช่วงเวลา Effect  วิธีที่ 2
                    การกำหนดเวลาให้ Effect  ที่อยู่ในโหมด Timeline กำหนดค่าโดยเพิ่มความยาว ให้ Effect


    6. กำหนดให้ใส่ Effect  แบบอัตโนมัติ
    บางครั้งการเลือก Effect  เข้สมาใส่ในงานตัดต่อวีดีโอนั้นก็ยุ่งยากพอสมควร ถ้าเรามีวิธีที่ไม่ต้องเลือก Effect  ให้ปวดหัว แล้วสามารถกำหนดให้ใส่ Effect  แบบอัตโนมัติ สามารถทำได้โด






    7. ปรับแต่ง Effect  ตามใจผู้ตัดต่อ
    Effect  มีด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกันไป และยิ่งให้ผู้ตัดต่อไปถูกอย่างก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น หลักจากใส่ Effect  ไปแล้วเราสามารถที่จะมาปรับแต่ง Effect  เพิ่มเติมอีกได้




ที่มา: https://sites.google.com/site/jakkapatpimpa/-effect12 

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กวดวิชามาตรฐานการศึกษาไทย เรียนเพื่อสอบ หรือเรียนเพื่อรู้

“กวดวิชา” มาตรฐานการศึกษาไทย เรียน “เพื่อสอบ” หรือเรียน “เพื่อรู้”

 
การศึกษาของไทยหากใครมีเงินมากกว่าย่อมได้เปรียบ เลือกเรียนที่ใดก็ได้ หากเรียนไม่เก่งก็เรียนพิเศษเพิ่มในสถาบันกวดวิชาในที่สุดก็จะสามารถเรียนเก่งได้ เพราะทำข้อสอบได้ และถึงแม้จะมีเงินพร้อม บางครั้งก็เรียนในโรงเรียนกวดวิชาไม่ได้เพราะที่นั่งเต็มแม้แต่คอร์สที่เรียนกับวิดีโอ เมื่อความต้องการเรียนพิเศษเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้สถาบันกวดวิชาด้านต่างๆ ขยายตัว โดยเฉพาะกลุ่มที่สอนด้านวิชาการ สำหรับคนที่ต้องการเรียนที่บ้าน ก็สามารถหาติวเตอร์มาสอนให้ได้แบบตัวต่อตัว ผ่านเว็บไซต์หรือ
เฟซบุ๊ก

10 จังหวัดแรกที่มีโรงเรียนกวดวิชามากที่สุด
จำนวนโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพฯ
จำนวนโรงเรียนกวดวิชาในภาคใต้และเหนือ
จำนวนโรงเรียนกวดวิชาในภาคอีสาน
จำนวนโรงเรียนกวดวิชาในตอนกลางของประเทศไทย

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พบว่าประเทศไทยมีกลุ่มโรงเรียนกวดวิชาทั้งหมด 1,983 แห่ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร 487 แห่ง และต่างจังหวัด 1,496 แห่ง ใน 74 จังหวัด ยกเว้นหนองบัวลำพู ปัตตานี และนราธิวาส
สำหรับโรงเรียนกวดวิชาในต่างจังหวัด มักกระจุกตัวอยู่ในเขตปริมณฑล จังหวัดขนาดใหญ่ หรือจังหวัดหัวเมืองของภูมิภาค ที่สำคัญคือจะมีมากที่สุดในเขตอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัด ซึ่งจังหวัดที่มีโรงเรียนกวดวิชามากที่สุด 10 อันดับแรก คือ กรุงเทพฯ ชลบุรี สงขลา นนทบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ ลพบุรี นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม โดย 10 จังหวัดนี้มีโรงเรียนกวดวิชารวมกัน 1,031 แห่ง หรือร้อยละ 69 ของโรงเรียนทั้งหมดที่ยื่นขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบกับ สช.
เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 149 แห่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร 430 แห่ง และอื่นๆ อีกรวม 686 แห่ง แต่มีโรงเรียนกวดวิชาครบทั้ง 50 เขต จำนวน 487 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 71 ของโรงเรียนในกรุงเทพฯ ซึ่งสถาบันกวดวิชาเหล่านี้ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งจากการขยายสาขาและเปิดโรงเรียนกวดวิชาใหม่
สถิติของกระทรวงศึกษาธิการในปี 2553 ระบุว่า จำนวนนักเรียนที่เรียนในกรุงเทพฯ มี 859,085 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 121,965 คน ระดับประถมศึกษา 364,588 คน และระดับมัธยมศึกษา 372,532 คน ซึ่งเชื่อว่าเด็กนักเรียนเกือบทุกคนต้องเรียนพิเศษนอกโรงเรียนเพื่อให้ผลสอบผ่าน มีผลการเรียนดีขึ้น หรือสามารถสอบเข้าโรงเรียนที่ต้องการได้

จำนวนโรงเรียนในกรุงเทพฯ

ด้านโรงเรียนกวดวิชามีทั้งแบ่งการสอนตามระดับชั้นเรียนและสอนแยกตามวิชา สำหรับการสอนแยกตามชั้นเรียนนั้นมีรับสอนพิเศษด้านวิชาการตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 จนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งหลักสูตรที่ได้รับความนิยมและมีราคาแพงคือการติวเพื่อสอบเข้า ตั้งแต่สอบเข้า ป.1, ม.1, ม.4, มหาวิทยาลัย และการสอบเข้าโรงเรียนพิเศษ เช่น เตรียมทหาร นายร้อย การบินพลเรือน แอร์โฮสเตส ฯลฯ
การเรียนตามช่วงชั้นระหว่างอนุบาลถึง ป.6 นั้นมีทั้งแบบเรียนรวม 3 หรือ 5 วิชาในคอร์สเดียวกัน และเรียนแยกในบางวิชาที่เด็กมักมีปัญหา เช่น คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ส่วนคอร์สของนักเรียนมัธยมนั้นจะแบ่งเรียนตามรายวิชา ซึ่งบางวิชาอาจรวมอยู่ในคอร์สเดียวกันได้ เช่น ภาษาไทยและสังคม แล้วแต่ว่าโรงเรียนกวดวิชาจัดแบบไหน แต่สำหรับมัธยมปลายจะมีรายวิชาเพิ่มมากขึ้น ยากมากขึ้น จึงเกิดโรงเรียนกวดวิชาที่สอนเฉพาะวิชาขึ้นมา เช่น “แอพพลายด์ฟิสิกส์” สอนเฉพาะวิชาฟิสิกส์ “วรรณสรณ์” สอนเฉพาะวิชาเคมี “เอ็นคอนเส็ปท์” สอนเฉพาะภาษาอังกฤษ ฯลฯ ซึ่งจากสถาบันอื่นๆ ที่มักจะสอนครบทุกวิชา
กรณีที่โรงเรียนมีหลายสาขา จะมีการเรียน 2 แบบ คือ มีอาจารย์มาสอนด้วยตัวเอง หรือ “คอร์สสด” และเรียนกับวิดีโอที่ถ่ายไว้ตอนคอร์สสด หากนักเรียนต้องการสมัครเรียนคอร์สไหน คอร์สสด (แพงกว่า) หรือวิดีโอ ก็จะเลือกลงทะเบียนเรียนผ่านการโอนเงินผ่านธนาคารภายในกำหนดเวลาที่สถาบันกำหนดไว้ ถ้าคอร์สไหนเต็มแล้วก็จะโอนเงินไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่นักเรียนจะได้เรียนตามคอร์สและสาขาที่ต้องการ
โรงเรียนกวดวิชาที่มีสาขามากที่สุดในประเทศไทย
โรงเรียนกวดวิชาที่มีสาขามากที่สุดในกรุงเทพฯ

แต่สำหรับนักเรียนมัธยมปลายนั้น ต้องใช้ความพยายามอย่างมากกว่าจะได้เรียนคอร์สที่ต้องการ โดยเฉพาะคอร์สแอดมินชันหรือติวเข้าสอบมหาวิทยาลัยที่เป็นคอร์สสด เช่น โรงเรียนกวดวิชาอาจารย์ปิง (สอนภาษาไทยและสังคม) สาขาเยาวราช (คอร์สสด) นักเรียนหลายคนต้องรอธนาคารเปิดเพื่อให้ได้โอนเงินเป็นคนแรกในวันแรกที่เปิดสมัครเรียน เพราะการได้โอนเงินเป็นคนที่ 2 บ่อยครั้งพบว่า คอร์สเต็มแล้ว

เรามักได้ยินเสมอว่า คนจนมักเข้าไม่ถึงการศึกษาเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่สำหรับการศึกษาในโรงเรียนกวดวิชานั้น ทุกคนล้วนมีทุนทรัพย์และต้องแข่งขันกันเสียเงิน ใครจ่ายก่อนก็ได้เรียน นี่อาจคือเหตุผลที่ว่าทำไมโรงเรียนกวดวิชาถึงเติบโตเร็วและกระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง และที่สำคัญคือ “ธุรกิจการศึกษาไม่ต้องเสียภาษี” ทำให้หลายๆ คนหันมาเป็นคุณครูเจ้าของโรงเรียนกวดวิชา
นอกจากโรงเรียนกวดวิชาด้านวิชาการแล้ว ยังมีโรงเรียนกวดวิชาด้านการสร้างเสริมทักษะชีวิตด้วย เช่น โรงเรียนพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทางสมอง (ควอลิตี้ คิดส์/เบรนฟิตเนส) โรงเรียนภาษาอังกฤษพิงกุ ฯลฯ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพทางสมอง จินตนาการ และทางกายภาพ ซึ่งเริ่มในเด็กอายุ 3-12 ปี นั่นหมายความว่าเด็กทุกวัยได้เรียนพิเศษแน่ๆ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีโรงเรียนสอน
ทั้งนี้ ยังมีจำนวนโรงเรียนกวดวิชาอีกหลายสาขาและหลายสถาบันที่ไม่ปรากฏชื่อในข้อมูลของ สช. เช่น คุมอง ข้อมูล สช. ระบุว่ามีแห่งเดียวที่ราชบุรี ทั้งๆ ที่ความจริงมีกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ, RAC รัชดาวิทยา มีชื่อปรากฏเพียง 35 แห่งจาก 49 แห่งทั่วประเทศ, ภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ มีชื่อปรากฏเพียง 19 แห่งจาก 34 แห่งทั่วประเทศ, อาจารย์ปิง มีชื่อปรากฏเพียง 17 แห่งจาก 31 แห่งทั่วประเทศ ฯลฯ
ปัจจุบัน การกวดวิชาไม่ได้มีเฉพาะรูปแบบของโรงเรียนที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการเท่านั้น แต่อยู่ในรูปแบบของการจ้างคนที่เรียกว่า “ติวเตอร์” ไปสอนที่บ้านด้วย ซึ่งผู้ปกครองหรือผู้เรียนจะติดต่อกับติวเตอร์ผ่านนายหน้าบนสื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ ไลน์ ฯลฯ
วิธีการติดต่องานกวดวิชาประเภทนี้ทำโดย ผู้ปกครองหรือผู้เรียนจะแจ้งแก่เว็บไซต์หรือนายหน้าว่าต้องการติวเตอร์สอนวิชาอะไร ต้องการให้ไปสอนที่ไหน เมื่อไร หลังจากนั้นนายหน้าหรือเจ้าของเว็บไซต์จะประกาศงานบนสื่อออนไลน์ของตนเอง โดยมีรายละเอียดผู้เรียน สถานที่เรียน ค่าจ้างสอนต่อชั่วโมง และค่านายหน้าที่ติวเตอร์ต้องโอนเงินก่อนรับงานสอนไป ซึ่งส่วนใหญ่คิดที่ร้อยละ 20 ของค่าสอนทั้งหมด หรือบางกรณีอาจจ่ายเพียงครั้งเดียว ราคาตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันแล้วแต่นายหน้าจะคิด เมื่อนายหน้าพิจารณาติวเตอร์ที่เหมาะได้ ติวเตอร์โอนเงินค่านายหน้าแล้ว ติวเตอร์ก็จะได้งานสอนนั้นๆ ซึ่งผู้เรียนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่คือกลุ่มที่ต้องการเรียนที่บ้านกับติวเตอร์แบบตัวต่อตัว โดยติวเตอร์จะได้ค่าสอนชั่วโมงละ 250-500 บาท แล้วแต่ระดับชั้นและความยากของวิชาที่สอน
สำหรับคนที่ต้องการเป็นติวเตอร์ ทำเพียงแค่สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไชต์หรือเฟซบุ๊กที่รับติวเตอร์ โดยกรอกประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประสบการณ์การสอน แล้วเข้าไปจองงานสอนตามที่นายหน้าประกาศ หากมีคุณสมบัติครบถ้วนและเหมาะสมตามที่ผู้เรียนต้องการนายหน้าก็จะพิจารณางานสอนให้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะพิจารณาจากสถาบันการศึกษา และคณะที่ติวเตอร์เรียนหรือจบปริญญามา เพราะนายหน้าเหล่านี้มักจะการันตีธุรกิจการสอนของตนด้วย “ติวเตอร์จากจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เกษตร”
ตัวอย่างโรงเรียนกวดวิชาที่รับสอนตามบ้าน เช่น บ้านติวเตอร์, ติวเตอร์แลนด์, ซียูติวเตอร์ไอคิวพลัสเซนเตอร์ ตัวอย่างเพจกวดวิชาบนเฟซบุ๊ก เช่น ติวเตอร์ซียู, พี่เจมส์ติวเตอร์, เลิร์นพลัสติวเตอร์, ทีมติวเตอร์จุฬาหาดใหญ่, ไอคิวแม็กซ์เซ็นเตอร์

นอกจากติวเตอร์วัยรุ่นแล้ว คุณครูหรืออาจารย์ในโรงเรียนก็รับสอนกวดวิชาด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งมีทั้งสอนเพื่อเพิ่มเกรดและติวเพื่อสอบเข้าโรงเรียน และได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้ปกครอง เนื่องจากเชื่อมั่นในความเป็นครู มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ที่สามารถการันตีการสอนได้ โดยอาจคิดค่าสอนเป็นรายชั่วโมงหรือรายเดือน
แม้แต่ในโรงเรียนเอง แทบจะทุกโรงเรียนมีการสอนพิเศษในช่วงเย็นหลังเลิกเรียนด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนของรัฐหรือเอกชนที่อยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยส่วนใหญ่เป็นช่วงเวลาทำการบ้านของนักเรียนมากกว่าจะเรียนเพิ่มเติม ยกเว้นในช่วงใกล้สอบที่อาจจะสอนทบทวนหรือลองให้ทำข้อสอบคู่ขนานกับข้อสอบจริง
ทั้งหมดนี้คือการเรียนพิเศษในรูปแบบของการกวดวิชาของเด็กไทยเท่านั้น ยังไม่รวมถึงการเรียนพิเศษในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี กีฬา ร้องเพลง เต้นรำ ทำอาหาร ศิลปะ ฯลฯ เพื่อยกระดับทักษะชีวิต เพิ่มความสามารถพิเศษให้ลูก ซึ่งเด็กสามารถเรียนสิ่งเหล่านี้ได้ตั้งแต่อายุ 3 ปี
สำหรับวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่จะเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติมจากการเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือเพื่อทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ทำให้สถาบันสอนภาษาอังกฤษเติบโตมากในประเทศไทย ปัจจุบันมีไม่ต่ำกว่า 20 ชื่อสถาบัน บางสถาบันมีหลายสาขา รวมกันทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีไม่ต่ำกว่า 50 แห่ง เช่น เอยูเอ, วอลล์สตรีท, ไอจีเนียส, โรงเรียนสอนภาษาอีเอฟ ฯลฯ ซึ่งมักตั้งอยู่ในย่านธุรกิจอย่างสยามสแควร์ สีลม อโศก ฯลฯ และโรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาเกาหลี อาทิ K-TOP, K edupac ภาษาญี่ปุ่น อาทิ โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ, แจ๊ท ภาษาจีน อาทิ เป่ยจิง, ฮั่นอี้ ซึ่งอาจเรียนที่โรงเรียนสอนภาษา เรียนกับสถาบันภาษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเรียนกับสมาคมหรือสถานทูตของประเทศนั้นๆ
การเติบโตของสถาบันการศึกษานอกห้องเรียนดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าการศึกษาในโรงเรียนไม่เพียงพอให้เด็กและผู้ปกครองก้าวสู่อนาคตที่ต้องการได้ หากเรียนเพื่อเพิ่มเกรด นั่นอาจหมายถึงเรียนในโรงเรียนแล้วไม่เข้าใจ หากติวเพื่อสอบเข้า นั่นอาจหมายถึงเด็กและผู้ปกครองให้ความสำคัญกับข้อสอบและการทำข้อสอบได้มากกว่าเนื้อหาทั้งหมดที่ควรรู้ หรือตลอดเวลาที่เรียนมาเด็กไม่รู้และไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียน จึงไม่สามารถมาประยุกต์ใช้เพื่อทำข้อสอบได้ 

“กวดวิชา เรียนพิเศษ” จำเป็นหรือแฟชั่น

 

“กวดวิชา เรียนพิเศษ” จำเป็นหรือแฟชั่น

 
 
 
 เรียนพิเศษ เรียนเสริม เรียนซ่อม เรียนเร่งรัด เป็นสิ่งที่สังคมไทยมีมานาน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อน หรือเพื่อเรียนให้ทันเพื่อน ต่อมามีการเก็บค่าเรียน กลายเป็นการเรียนแบบธุรกิจการค้า มีการจัดหลักสูตรแบ่งเป็นรายวิชา จึงเปลี่ยนการเรียกเป็น กวดวิชา” จุดมุ่งหมายในการเรียนเริ่มเปลี่ยนไป ไม่ใช่เฉพาะเด็กที่เรียนอ่อนเท่านั้น แต่เด็กทุกคนที่เรียนกวดวิชาต้องการเรียนให้เก่งขึ้น เรียนเก่งกว่าคนอื่นในวิชา โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการสอบคัดเลือก ก็จะเลือกเรียนกวดวิชาที่ตัวเองคิดว่าขาดหรือไม่เก่งพอ 

        การกวดวิชาไม่ใช่พบแต่ในประเทศไทย แต่พบได้หลายประเทศทั้งในทวีปเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินโดนีเซีย พม่า ในทวีป อาฟริกา ยุโรปตะวันออก และอเมริกากลาง  ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระบุตรงกันว่า การเรียนกวดวิชาจะพบในกลุ่มประเทศที่คุณภาพของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่ทัดเทียมกันเด็กนักเรียนมีความจำเป็นในการแข่งขันเพื่อเข้าเรียนโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ แต่รับนักเรียนได้จำกัด โดยมีความหวังว่าจะมีโอกาสและอนาคตที่ดีกว่าคนอื่น 

        การเรียนกวดวิชาในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไรไม่เคยมีคนเขียนไว้ แต่ประมาณว่ามีมาไม่น้อยกว่า 40 ปี มีหลายระดับชั้นที่มีการสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนของรัฐ และระดับมหาวิทยาลัย เช่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1มัธยมศึกษาปีที่ มัธยมศึกษาปีที่ และมหาวิทยาลัย แต่ระดับชั้นที่มีการกวดวิชาหนาแน่นที่สุดคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณกันว่ามีเด็กนักเรียนประมาณร้อยละ 30 หรือประมาณ 330,000 คน/ปี  เรียนกวดวิชาในปี พ.ศ. 2549

        สำหรับธุรกิจเรียนกวดวิชานั้น เคยมีผู้ประเมินเรื่องค่าเรียนว่าไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท โดยมีเด็กนักเรียนเรียนเฉลี่ย คอร์สต่อเทอม ค่าเรียนเฉลี่ยคอร์สละประมาณ 2,000 บาท 

        งานวิจัยของ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถามแบบสอบถามนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 2,000 คน และได้ถามแบบสอบถามผู้ปกครอง  อาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ จำนวน 1,000 คน พบว่า 

        ‘ เด็กเรียนเก่ง (เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป) เรียนกวดวิชามากกว่าเด็กเรียนอ่อน (เกรดเฉลี่ย  2.00-2.50)
        ‘ เด็กในเมืองเรียนกวดวิชามากกว่าเด็กนอกเมือง (ร้อยละ 70 ของเด็กในเมืองเรียนกวดวิชา ส่วนร้อยละ 10-20 ของเด็กนอกเมืองที่เรียนกวดวิชา) 
        ‘ อาชีพผู้ปกครอง พบว่า รับราชการหรือค้าขายส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชามากกว่าอาชีพเกษตรกรหรือประมง

        ถ้านับธุรกิจเสริมนอกจากค่าเรียนกวดวิชาได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าพิมพ์คู่มือ ค่าเอกสารอื่นๆ ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มเป็นเงินปีละประมาณ 14,000 ล้านบาท 
จุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนที่เรียนกวดวิชา

   1.   ต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ยิ่งมีการใช้ GPA ร้อยละสูงขึ้น ยิ่งต้องกวดวิชามากขึ้น ผลการเรียนจะได้ดีขึ้น เพราะเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และค่า GPA ก็จะดีขึ้นด้วย

   2.   เชื่อว่าเรียนกวดวิชาช่วยในการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะวิชาหลักที่คะแนนมีความแตกต่างสูง เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ
   3.    เพื่อให้ได้เทคนิคการทำข้อสอบ ได้พบข้อสอบแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน สามารถทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น แม่นยำขึ้น ใช้เวลาน้อยลง

 





ที่มา http://www.oknation.net/blog/nam-peth/2011/08/23/entry-2




สอนการตัดต่อวีดีโอโปรแกรม Avs Video Editor

สอนการตัดต่อวีดีโอโปรแกรม Avs Video Editor

 
 

ผลสำรวจชี้ โรงเรียนกวดวิชาคือสิ่งจำเป็นของสังคม

ผลสำรวจชี้ โรงเรียนกวดวิชาคือสิ่งจำเป็นของสังคม

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” ทำการสำรวจเรื่อง “โรงเรียนกวดวิชา” โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับ ป.4 ถึง ม.6 ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,116 คน โดยได้ผลการสำรวจที่น่าสนใจแบ่งออกเป็น 4 ด้าน
  1. ร้อยละ 66.13 ระบุว่าการมาเรียนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาเป็นความต้องการของตนเอง รองลงมา ร้อยละ 26.70 เรียนตามความต้องการของพ่อแม่และครอบครัว ส่วนการเรียนตามเพื่อน (ร้อยละ 4.93) และ คำแนะนำจากครู อาจารย์ (ร้อยละ 2.24) แทบไม่มีอิทธิพลกับการตัดสินใจเรียนกวดวิชาของเยาวชน
  2. ขณะที่สาเหตุของการเรียนกวดวิชานั้น เยาวชน ร้อยละ 78.86 ระบุว่าการเรียนพิเศษเป็นสิ่งจำเป็น เพราะปัจจุบันการแข่งขันทางการศึกษาสูงขึ้น ส่วนร้อยละ 21.24 ระบุว่าไม่จำเป็น เนื่องจากในเวลาเรียนปกติถ้ามีความตั้งใจเรียน หมั่นฝึกฝนและทบทวนบทเรียน ก็จะสามารถทำให้มีผลการเรียนที่ดีได้
  3. ส่วนหลักเกณฑ์ในการเลือกสถานที่เรียนพิเศษ ร้อยละ 42.11 ดูที่ชื่อเสียงของโรงเรียนกวดวิชา รองลงมา ร้อยละ 34.68 ดูที่ชื่อเสียงของติวเตอร์ และร้อยละ 15.50 ดูที่ทำเลที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนกวดวิชา
  4. การใช้เวลาเรียนที่สถาบันกวดวิชา พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.08 ใช้เวลาเรียนกวดวิชาสัปดาห์ละ 2 วัน และร้อยละ 31.99 เรียนกวดวิชาสัปดาห์ละ 1 วัน โดยกลุ่มเยาวชนที่ไปโรงเรียนกวดวิชามากกว่า 4 วันต่อ 1 สัปดาห์ มีเพียงร้อยละ 20.26 สะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนกวดวิชาไม่ได้ทำลายชีวิตของ เยาวชนหรือเบียดเบียนเวลาพักผ่อนแต่อย่างใด

blog-thumb-2


ที่มา: http://www.webythebrain.com/article/survey-of-schools-is-essential

ข้อดี ข้อเสีย ของการเรียนพิเศษ

ข้อดี ข้อเสีย ของการเรียนพิเศษ

จากการสอบถามนักเรียนที่ไปเรียนกวดวิชาต่างก็ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการเรียนกวดวิชาว่า

ข้อดี


- ช่วย สร้างความมั่นใจและความพร้อมในการสอบ เพราะอาจารย์ที่โรงเรียนกวดวิชามักจะรวบรวมเทคนิคต่างๆ ในการทำข้อสอบโดยยึดแนวข้อสอบของปีที่ผ่านๆ มาให้นักเรียนฝึกทำโดยจัดทำเป็นรูปเล่มสวยงาม พกพาสะดวก ทำให้นักเรียนคุ้นเคยกับโจทย์และรู้แนวข้อสอบที่จะออกในครั้งต่อไป นอกจากนี้อาจสอนตั้งแต่แนวคิดพื้นฐาน (Basic Concepts) อย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ใช่แต่สอนกลเม็ด (Tricks) เพื่อใช้สอบอย่างเดียวเพราะสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนปกติ และเพื่อศึกษาต่อได้

- ทำให้มีความรู้และประสบการณ์กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ Passage เรื่องยุง ซึ่งจะให้เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ว่าคนที่ผอมมักโดนยุงกัดมากกว่าคนอ้วนเพราะยุงจะมีคลื่นจับความร้อน ดังนั้น คนอ้วนที่มีไขมันมากเมื่อยุงเข้ามาใกล้จึงไม่ได้รับความร้อนเท่าคนผอม ซึ่งความรู้ใหม่ๆ หลายอย่าง ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

- ช่วย ในการทบทวนวิชาที่เรียนมาตลอดทั้งปีเพราะในการเรียนกวดวิชานั้น อาจารย์จะทบทวนบทเรียนเก่าๆ ที่ผ่านมาทำให้นักเรียนได้ฟื้นความรู้และทักษะต่างๆ ในบทเรียนที่สำคัญๆ และยังได้เรียนบทเรียนใหม่ๆ ล่วงหน้าก่อนที่จะต้องเรียนที่โรงเรียนอีกด้วย

- ช่วย ให้คะแนนสอบดีขึ้น ซึ่งแน่นอนหากมาเรียนกวดวิชาจะต้องได้ทบทวนความรู้เก่าและได้รับความรู้ ใหม่ๆ นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการทำข้อสอบเพื่อเพิ่มคะแนนได้มากขึ้น ทั้งข้อสอบที่โรงเรียนและข้อสอบระดับชาติ

- อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกันเองกับนักเรียนมากกว่าครูอาจารย์ที่โรงเรียน ทำให้กล้าคุยกล้าซักถามปัญหาการเรียนได้ตลอด เพราะครูกวดวิชามักไม่มีช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap)

- วุฒิ การศึกษาของอาจารย์ที่โรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่มักจะเป็นอาจารย์ที่จบการ ศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศ และมีคะแนนระดับเกียรตินิยมทั้งระดับปริญญาตรี โท เอกรวมทั้งมีประสบการณ์การสอนมายาวนาน มีภาพลักษณ์ทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ

- บรรยากาศ ในการเรียนกวดวิชาแตกต่างจากที่โรงเรียน เพราะอาจารย์ที่สอนกวดวิชามักแทรกมุกตลก หรือ เรื่องเล่าที่เป็นประโยชน์อยู่เสมอ ทำให้นักเรียนเรียนแล้วไม่เกิดความเครียด ศ.นพ.ประเวศ วะสี เคยกล่าวว่าบรรยากาศในห้องเรียนมัธยมไทยเต็มไปด้วยความเครียด กวดวิชาจึงมีส่วนเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้โดยตรง

- ได้รู้ความก้าวหน้าของเพื่อนต่างโรงเรียนว่ามีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว ซึ่งจะช่วยเป็นแรงกระตุ้นในการเตรียมสอบได้มากขึ้น

- ได้มีโอกาสพบปะเพื่อนใหม่ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกันจนบางครั้งคบกันจนเป็นเพื่อนสนิทกันไปเลย

ข้อเสีย
- นัก เรียนบางคนไม่ตั้งใจที่จะเรียนกวดวิชา แต่ใช้การกวดวิชาเป็นข้ออ้างในการออกจากบ้านเพื่อไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนใน สถานที่ต่างๆ ทำให้ไม่เกิดประโยชน์ในการเรียนกวดวิชา และโรงเรียนกวดวิชาส่วนมากไม่มีระบบในการตรวจนับหรือติดตามนักเรียนทำให้นัก เรียนที่ไม่อยากเรียนสามารถโดดเรียนได้ง่าย

- นัก เรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเรียนกวดวิชา ซึ่งโรงเรียนกวดวิชาบางแห่งเก็บค่าเรียนแพงมากอย่างไม่สมเหตุผล และยังเก็บค่าหนังสือเรียนเพิ่มอีกต่างหาก ทำให้ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ไม่สามารถเรียนได้ ลักษณะเช่นนี้นักการศึกษาบางคนจึงมองว่าความรู้ที่ได้รับจากโรงเรียนกวดวิชา เป็นความรู้ที่ฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชาก็ได้และการเรียนกวดวิชาเป็นกิจกรรมของเด็กเปี่ยม โอกาส มีเงินมากกว่าจึงทำให้เก่งกว่า พฤติกรรมของโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้ จึงถูกสังคมประนามว่ามุ่งธุรกิจ ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม

- กวด วิชาสอนสูตรลัดเพียงเพื่อให้ทำข้อสอบคัดเลือกได้ แม้จะเป็นสูตรลัดผิดๆ ที่ไม่สามารถใช้ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ก็มั่วสอน อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนไม่ยอมรับสูตรลัดเหล่านั้น จึงให้นักศึกษาทำข้อสอบด้วยการให้แสดงวิธีแบบอัตนัย ทำให้สูตรลัดใช้ไม่ได้ผล

- โรงเรียนกวดวิชายังมีการปฏิรูปการเรียนรู้น้อยมากซึ่งไม่เน้นการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-Centered) ส่วนใหญ่เป็นการเรียนในห้องแคบๆ คนเรียนเป็นร้อยๆ คน บางครั้งก็ต้องดูผ่านทางทีวีวงจรปิด หรือ เรียนจากเทปบันทึกการสอนทำให้นักเรียนไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนสอนได้เลย คนสอนเป็นยิ่งกว่าดาราทีวีที่นักเรียนไม่เคยเจอตัวจริงเลย

- บาง ท่านกล่าว การว่าการกวดวิชาไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและทัศนคติของนัก เรียนได้ กวดวิชาถูกกล่าวหาว่าการที่นักเรียนมาพบเจอกัน เรียนด้วยกันแค่ไม่กี่ชั่วโมงจะไม่สามารถเกิดพลวัตรของกลุ่ม ไม่เรียนรู้ปรับตัวซึ่งกันและกัน ไม่มีเพื่อน มีแต่คนเคยเห็นหน้า

- ผู้ บริหารและครูสอนกวดวิชาส่วนใหญ่ขาดความรู้ด้านการบริหารการศึกษา และมักมุ่งหวังแต่กำไรของธุรกิจเป็นสำคัญ พอเริ่มมีชื่อเสียงดังขึ้นมาก็ขึ้นค่าเรียนอย่างรวดเร็วรับนักเรียนไม่จำกัด ให้นั่งเรียนอย่างเบียดเสียด กอบโกยกำไรมหาศาลพร้อมกับการขยายสาขาด้วยการเปิด VDO ให้เด็กดู100% ตลอดหลักสูตร กระทำผิดกฏเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการหลายข้อ ขาดความรับผิดชอบ ไร้จรรยาบันโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อการพัฒนาคน ประเทศและสังคม



จาก ข้อดีข้อเสียข้างต้น จะพบว่านักเรียนที่เรียนกวดวิชาอาจจะได้ประโยชน์จากโรงเรียนกวดวิชามากกว่า ข้อเสีย ซึ่งในสังคมส่วนมากมักจะมองโรงเรียนกวดวิชาในแง่ลบว่าเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้น โดยอาศัยช่องว่างทางการศึกษาและไม่รับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะในบางโรงเรียนนั้นผู้บริหารก็มิได้มองการกวดวิชาในแง่ผลประโยชน์ของ ธุรกิจแต่อย่างเดียว

จาก การสำรวจโรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งพบว่า เจ้าของโรงเรียนอาจจะได้รับเงินค่าเรียนกวดวิชาเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อหักในส่วนของค่าใช้จ่ายออกแล้วก็ไม่ได้รับส่วนที่เป็นกำไรเท่าใดนัก เพราะในการตั้งโรงเรียนกวดวิชานั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งงบลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งในบางครั้งเด็กนักเรียนบางคนที่ต้องการเรียนกวดวิชาแต่ขาดทุนทรัพย์ ทางโรงเรียนก็ให้สมัครเรียนฟรี โดยมิได้คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยเฉพาะกับเด็กที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หรือบางคอร์สเรียนค่าเรียนก็ถูกมากเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ตั้งใจเรียน แต่มีความสามารถทางเศรษฐกิจน้อย ได้มีโอกาสได้เรียนกวดวิชาที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับนักเรียนที่ผู้ปกครองมี ฐานะดี ซึ่งเป็นการลดช่องว่างทางการศึกษา หรือช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในที่สุด รัฐจึงไม่ควรมองว่าปัญหาการศึกษามาจากการกวดวิชาอย่างเดียวเพราะตัวเลขจำนวน นักเรียนที่กวดวิชาเทียบไม่ได้เลยกับตัวเลขของนักเรียนในระบบทั่วประเทศ จะแก้ปัญหาการศึกษาควรแก้ที่ระบบ เช่น การพัฒนาครู ระบบฝึกอบรมบุคลากรที่มีประสิทธิผล ระบบค่าตอบแทน สวัสดิการ วิธีการพิจารณาความดีความชอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในระบบ ปัญหาการศึกษาของไทยมีมากและซับซ้อน ไม่ใช่แค่เรื่องกวดวิชา จำไว้ว่า “มีปัญหาอย่าโทษแต่กวดวิชา”
ที่มา: http://www.tutors-db.com/forums/index.php?topic=501.0