10 เทคนิคช่วยให้ลูกไม่ต้องเรียนพิเศษ

1. ดูว่าลูกคุณจำเป็นต้องเรียนพิเศษหรือไม่
มี 2 เหตุผลหลัก ๆ ที่เด็กถึงต้องเรียนพิเศษ เหตุผลแรกเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “พื้นฐานของการสอนพิเศษ” นั่นคือ เมื่อนักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อนในห้องเรียน นอกจากนี้ การที่เรียนไม่ทันเพื่อนนั้นอาจทำให้เด็กสูญเสียความสนใจในวิชานั้น ๆ ด้วย ในกรณีนี้ การเรียนพิเศษนั้นมีความจำเป็นเพื่อช่วยให้เด็กกลับมาสนใจเรียนได้ ดังนั้น ควรหาครูสอนพิเศษที่มีคุณสมบัติดีพอที่จะสามารถจูงใจให้ลูกคุณเรียนและรักในวิชานั้น
2. เป็นครูสอนพิเศษให้กับลูกและหาวิธีเรียนที่สนุกสนาน
ถามตัวเองว่าเรียนอย่างไรถึงจะสนุก? กุญแจสำคัญคือการสอนแบบไม่ต้องเตรียมตัวก่อนและหาอะไรก็ได้ที่คุณหาได้เป็นเครื่องมือและทำให้การเรียนนั้นสนุก คุณอาจทำกระดาษสีติดรูปเพื่อสอนคำภาษาอังกฤษให้กับลูก พิมพ์ชาร์ตตารางเพื่อให้จำง่าย ใช้การต่อจิ๊กซอเพื่อเรียนรู้การสะกดคำ หรือใช้ไม้ไอศครีมสีสันเพื่อช่วยให้เด็กเล็ก ๆ สามารถเห็นปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ได้ มีอีกหลายวิธีแล้วแต่จินตนาการของคุณเลย
3. ลงทะเบียนในนิตยสารหรือทีวี
นี่เป็นแทคติคที่จะทำให้ลูกของคุณสนใจในวิทยาศาสตร์แบบที่เขาไม่รู้ตัวเลยทีเดียว การลงทะเบียนทางช่อง National Geographic หรือผ่านทางนิตยสารเช่น Horrible Science ซึ่งเป็นนิตยสารที่เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงต่าง ๆ และวิธีการทดลองที่ให้เด็ก ๆ ทดลองได้เองที่บ้าน และในตอนที่ลูกของคุณเริ่มรู้จักวิทยาศาสตร์เมื่อเขาอยู่ชั้นประถมต้น เขาจะสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ในวิชาเรียนกับสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ที่บ้านได้แล้ว นอกจากนี้ การลงทะเบียนเพื่ออ่านหนังสือ Reader’s Digest และ Time ก็เป็นเรื่องที่ช่วยลูกของคุณได้ไม่น้อย
4. พาลูกไปห้องสมุด
เรารู้ว่าคุณเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว และในความเป็นจริง มันก็ได้ผลจริง ๆ ด้วย นอกจากจะให้ลูกคุณได้คุ้นเคยกับการอ่านตั้งแต่เขาอายุยังน้อย ห้องสมุดยังเป็นอีกสถานที่ที่ให้ลูกคุณได้ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่เขามีความสนใจอีกด้วย เช่น ลูกสาวคุณอาจสนใจในหนังสือศิลปะและงานฝีมือ ส่วนลูกชายคุณอาจสนใจหนังสือสอนทำอาหาร เป็นต้น เพราะลูกคุณอาจมีสิ่งที่เขาสนใจแต่ยังไม่ได้บอกให้ใครรู้ ดังนั้น การที่คุณสังเกตชนิดของหนังสือที่เขาสนใจอ่านอาจทำให้คุณเห็นแววความชอบของเขาก็ได้
6. วางแผนปรับตารางเวลาและตั้งเป้าหมายสำหรับการสอบ
เช่น ทำก่อนที่ลูกจะสอบประมาณ 1 เดือน คุณแม่ท่านหนึ่งนั่งลงคุยกับลูกเพื่อทำรายการหัวข้อที่ลูกต้องสอบ จากนั้นก็บันทึกวันที่ลูกสอบลงในปฏิทินและร่างแผนตารางเวลาขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการตั้งเป้าหมายสำหรับการสอบที่กำลังจะมาถึง และจงระลึกไว้เสมอว่าต้องตั้งเป้าตามความเป็นจริงโดยดูที่เกรดของลูกและกระตุ้นให้ลูกตั้งใจทำให้ดีขึ้นในการสอบครั้งนี้อย่างน้อยให้เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเกรด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น