“กวดวิชา เรียนพิเศษ” จำเป็นหรือแฟชั่น

เรียนพิเศษ เรียนเสริม เรียนซ่อม เรียนเร่งรัด เป็นสิ่งที่สังคมไทยมีมานาน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อน หรือเพื่อเรียนให้ทันเพื่อน ต่อมามีการเก็บค่าเรียน กลายเป็นการเรียนแบบธุรกิจการค้า มีการจัดหลักสูตรแบ่งเป็นรายวิชา จึงเปลี่ยนการเรียกเป็น “กวดวิชา” จุดมุ่งหมายในการเรียนเริ่มเปลี่ยนไป ไม่ใช่เฉพาะเด็กที่เรียนอ่อนเท่านั้น แต่เด็กทุกคนที่เรียนกวดวิชาต้องการเรียนให้เก่งขึ้น เรียนเก่งกว่าคนอื่นในวิชา โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการสอบคัดเลือก ก็จะเลือกเรียนกวดวิชาที่ตัวเองคิดว่าขาดหรือไม่เก่งพอ
การกวดวิชาไม่ใช่พบแต่ในประเทศไทย แต่พบได้หลายประเทศทั้งในทวีปเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินโดนีเซีย พม่า ในทวีป อาฟริกา ยุโรปตะวันออก และอเมริกากลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระบุตรงกันว่า การเรียนกวดวิชาจะพบในกลุ่มประเทศที่คุณภาพของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่ทัดเทียมกันเด็กนักเรียนมีความจำเป็นในการแข่งขันเพื่อเข้าเรียนโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ แต่รับนักเรียนได้จำกัด โดยมีความหวังว่าจะมีโอกาสและอนาคตที่ดีกว่าคนอื่น
การเรียนกวดวิชาในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไรไม่เคยมีคนเขียนไว้ แต่ประมาณว่ามีมาไม่น้อยกว่า 40 ปี มีหลายระดับชั้นที่มีการสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนของรัฐ และระดับมหาวิทยาลัย เช่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1มัธยมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 4 และมหาวิทยาลัย แต่ระดับชั้นที่มีการกวดวิชาหนาแน่นที่สุดคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณกันว่ามีเด็กนักเรียนประมาณร้อยละ 30 หรือประมาณ 330,000 คน/ปี เรียนกวดวิชาในปี พ.ศ. 2549
สำหรับธุรกิจเรียนกวดวิชานั้น เคยมีผู้ประเมินเรื่องค่าเรียนว่าไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท โดยมีเด็กนักเรียนเรียนเฉลี่ย 3 คอร์สต่อเทอม ค่าเรียนเฉลี่ยคอร์สละประมาณ 2,000 บาท
งานวิจัยของ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถามแบบสอบถามนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 2,000 คน และได้ถามแบบสอบถามผู้ปกครอง อาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,000 คน พบว่า
‘ เด็กเรียนเก่ง (เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป) เรียนกวดวิชามากกว่าเด็กเรียนอ่อน (เกรดเฉลี่ย 2.00-2.50)
‘ เด็กในเมืองเรียนกวดวิชามากกว่าเด็กนอกเมือง (ร้อยละ 70 ของเด็กในเมืองเรียนกวดวิชา ส่วนร้อยละ 10-20 ของเด็กนอกเมืองที่เรียนกวดวิชา)
‘ อาชีพผู้ปกครอง พบว่า รับราชการหรือค้าขายส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชามากกว่าอาชีพเกษตรกรหรือประมง
ถ้านับธุรกิจเสริมนอกจากค่าเรียนกวดวิชาได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าพิมพ์คู่มือ ค่าเอกสารอื่นๆ ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มเป็นเงินปีละประมาณ 14,000 ล้านบาท จุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนที่เรียนกวดวิชา
1. ต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ยิ่งมีการใช้ GPA ร้อยละสูงขึ้น ยิ่งต้องกวดวิชามากขึ้น ผลการเรียนจะได้ดีขึ้น เพราะเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และค่า GPA ก็จะดีขึ้นด้วย
การกวดวิชาไม่ใช่พบแต่ในประเทศไทย แต่พบได้หลายประเทศทั้งในทวีปเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินโดนีเซีย พม่า ในทวีป อาฟริกา ยุโรปตะวันออก และอเมริกากลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระบุตรงกันว่า การเรียนกวดวิชาจะพบในกลุ่มประเทศที่คุณภาพของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่ทัดเทียมกันเด็กนักเรียนมีความจำเป็นในการแข่งขันเพื่อเข้าเรียนโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ แต่รับนักเรียนได้จำกัด โดยมีความหวังว่าจะมีโอกาสและอนาคตที่ดีกว่าคนอื่น
การเรียนกวดวิชาในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไรไม่เคยมีคนเขียนไว้ แต่ประมาณว่ามีมาไม่น้อยกว่า 40 ปี มีหลายระดับชั้นที่มีการสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนของรัฐ และระดับมหาวิทยาลัย เช่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1มัธยมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 4 และมหาวิทยาลัย แต่ระดับชั้นที่มีการกวดวิชาหนาแน่นที่สุดคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณกันว่ามีเด็กนักเรียนประมาณร้อยละ 30 หรือประมาณ 330,000 คน/ปี เรียนกวดวิชาในปี พ.ศ. 2549
สำหรับธุรกิจเรียนกวดวิชานั้น เคยมีผู้ประเมินเรื่องค่าเรียนว่าไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท โดยมีเด็กนักเรียนเรียนเฉลี่ย 3 คอร์สต่อเทอม ค่าเรียนเฉลี่ยคอร์สละประมาณ 2,000 บาท
งานวิจัยของ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถามแบบสอบถามนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 2,000 คน และได้ถามแบบสอบถามผู้ปกครอง อาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,000 คน พบว่า
‘ เด็กเรียนเก่ง (เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป) เรียนกวดวิชามากกว่าเด็กเรียนอ่อน (เกรดเฉลี่ย 2.00-2.50)
‘ เด็กในเมืองเรียนกวดวิชามากกว่าเด็กนอกเมือง (ร้อยละ 70 ของเด็กในเมืองเรียนกวดวิชา ส่วนร้อยละ 10-20 ของเด็กนอกเมืองที่เรียนกวดวิชา)
‘ อาชีพผู้ปกครอง พบว่า รับราชการหรือค้าขายส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชามากกว่าอาชีพเกษตรกรหรือประมง
ถ้านับธุรกิจเสริมนอกจากค่าเรียนกวดวิชาได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าพิมพ์คู่มือ ค่าเอกสารอื่นๆ ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มเป็นเงินปีละประมาณ 14,000 ล้านบาท จุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนที่เรียนกวดวิชา
1. ต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ยิ่งมีการใช้ GPA ร้อยละสูงขึ้น ยิ่งต้องกวดวิชามากขึ้น ผลการเรียนจะได้ดีขึ้น เพราะเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และค่า GPA ก็จะดีขึ้นด้วย
2. เชื่อว่าเรียนกวดวิชาช่วยในการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะวิชาหลักที่คะแนนมีความแตกต่างสูง เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ
3. เพื่อให้ได้เทคนิคการทำข้อสอบ ได้พบข้อสอบแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน สามารถทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น แม่นยำขึ้น ใช้เวลาน้อยลง
ที่มา http://www.oknation.net/blog/nam-peth/2011/08/23/entry-2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น